ความรู้เรื่องเซลล์

0

ความรู้เรื่องเซลล์

แนวคิดที่มาและความสำคัญ

เหตุผลที่คณะผู้จัดทำได้คิดทำโครงงานนี้ขึ้นเนื่องจากคณะผู้จัดทำเป็นนักเรียนในแผนการเรียนวิทย์-คณิต ซึ่งในการเรียนการสอนของพวกเรานั้น จะเน้นวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นพิเศษ ซึ่งเรื่องเซลล์นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์ เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเซลล์ดีแล้ว ก็จะสามารถนำความรู้เรื่องเซลล์นี้ไปต่อยอด เพื่อเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในหัวข้ออื่นๆได้ดียิ่งขึ้น

เซลล์มีความสำคัญเนื่องจากเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แม้แต่สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดที่สุดก็ยังประกอบด้วยเซลล์ หากไม่มีเซลล์ สิ่งมีชีวิตก็ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต เซลลจึงมีความสำคัญมากนอกจากเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตแล้ว เซลล์ยังมีหน้าที่ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเมทาบอลิซึม การหายใจระดับเซลล์ ฯลฯ ทำให้ร่างกายดำเนินการต่างๆไปได้อย่างปกติ

จากความสำคัญที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า เซลล์มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ คณะผู้จัดทำจึงทำโครงงานนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้เรื่องเซลล์และยังสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  เช่น การเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์

ข้อความน่ารู้

ในทางชีววิทยา เซลล์(Cell) เป็น โครงสร้างและหน่วยท างานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต แทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต (“building blocks of life”) สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ประกอบด้วยเซลล์เพียง 3 เซลล์ (unicellular) แต่สัตว์หลายชนิด เช่น มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์(multicellular) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 10,000 ล้านล้าน หรือ 1014 เซลล์)

ซึ่งถูกค้นพบโดย โรเบิร์ตฮุค เขาใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ประดิษฐ์ขึ้นตรวจดูชิ้นไม้คอร์ก ที่ฝาน บางๆ พบว่า ชิ้นไม้คอร์กประกอบด้วย ช่องขนาดเล็กมากมายเขาจึงตั้งชื่อแต่ละช่องว่า เซลล์ (Cell) ชิ้นไม้คอร์ก เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว เหลืออยู่แต่ ผนังเซลล์ (cell wall) ที่แข็งแรง ประกอบไป ด้วยสารพวกเซลลูโลสและซูเบอริน ธีออร์ดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwan) และ แมทเธียส ชไลเดน (Matthias Schleiden) นักชีววิทยาชาวเยอรมัน ได้เสนอทฤษฎีของเซลล์( Cell theory) มีใจความว่า “สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ประกอบด้วย เซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์”

ที่มาของรูปภาพ:https://sites.google.com/site/nichaapa44750/sell-prasath

วัตถุประสงค์

1.เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน

2.เป็นแนวทางการเรียนรู้ที่ทำให้มองเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ

3.เพิ่มความน่าสนใจในการเรียนรู้ และสนใจกับการเรียนมากขึ้น

4.เพื่อให้เกิดความรู้และเข้าใจสำหรับผู้ต้องการศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียน นักศึกษา

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่1. เลือกชื่อเรื่อง”ความรู้เรื่องเซลล์”

ขั้นตอนที่2. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล “ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ประกอบด้วย ห้องสมุด เว็บไซต์ และ สัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ”

ขั้นตอนที่3. ออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ “การสร้างแผนผัง Flowchart”

ขั้นตอนที่4. สร้างเว็บไซต์ด้วย โปรแกรม wordpress

ขั้นตอนที่5. นำเสนองานในรูปแบบของเว็บไซต์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการเรียนรู้ได้

2.เป็นแนวทางการเรียนรู้ที่ทำให้มองเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นและได้ความรู้ เข้าใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้น

3.มีความสนใจในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

4.ได้ความรู้ และเข้าใจในการเรียนวิทยาศาสตร์แก่ผู้ที่สนใจ

รูปภาพประกอบ

animal-cell

ที่มาของรูปภาพ:http://www.thaibiotech.info/what-is-animal-cell.php

      plant-cell

ที่มาของรูปภาพ:http://www.thaibiotech.info/what-is-plant-cell.php

ahr0cdovl3azlmlzyw5vb2suy29tl2d1lzavcgljznjvbnqvcgvkawevmjyxndi1x18ymzazmjaxmjaxmduyoc5qcgc

ที่มาของรูปภาพ:http://www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=860&id=1&s_head=6

 

 

นางสาวณิชกานต์ เรือนเงิน

0

14963004_669792319863524_1392499827_n

ชื่อ-สกุล: ณิชกานต์ เรือนเงิน

อายุ: 15ปี วันเกิด: 7 เมษายน 2544

กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ห้อง2

โรงเรียน: เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี

แผนการเรียน: วิทย์-คณิต

ที่อยู่ปัจจุบัน: ปทุมธานี

คติประจำใจ: ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

ติดต่อ facebook:Nitchakan Ruenngoen IG:polyployy__ Tw:@nitchakan7099